ทำไมคนญี่ปุ่นที่มาอยู่เมืองไทยแล้วไม่คิดอยากกลับญี่ปุ่น
คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่อยากอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นทั้งๆที่เป็นบ้านเกิดของตัวเองพอย้ายมาอยู่เมืองไทยก็ไม่ค่อยอยากกลับไปอยู่ญี่ปุ่นกันอีก…
คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่อยากอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นทั้งๆที่เป็นบ้านเกิดของตัวเองพอย้ายมาอยู่เมืองไทยก็ไม่ค่อยอยากกลับไปอยู่ญี่ปุ่นกันอีก…
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2501 หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ในช่วงเวลาที่ประชาชนประสบภาวะข้าวยากหมากแพง และกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นแนะนำให้ชาวญี่ปุ่นกินขนมปังที่ทำมาจากข้าวสาลี โดยได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา “Chikin Ramen (チキンラーメン)” ก็ได้ปรากฎตัวบนโทรทัศน์ในฐานะสื่อใหม่ที่จะมาเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคของผู้คนอย่างมากมายในเวลาต่อมา “Chikin Ramen” บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแห่งแรกของโลกที่คิดค้นโดยนายอันโด โมโมฟุกุ(安藤 百福・Momofuku Ando) ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มบริษัทนิชชิน ซึ่งเขากลับคิดว่าทำไมชาวญี่ปุ่นต้องกินขนมปังด้วย ทั้งๆ ที่คนญี่ปุ่นคุ้นเคยกับการกินบะหมี่หรือราเม็งมาโดยตลอด เขาจึงทดลองทำบะหมี่ที่ใครๆ ก็ทำกินเองได้ง่าย สะดวก และราคาถูก กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในยุคสมัยที่ทำให้บะหมี่แห้งและปรุงรสด้วยความร้อนในน้ำมัน เขาได้เปิดโรงงานการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ผลิตจำนวนมากโดยการสร้างกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมตั้งแต่กระบวนการทำเส้นบะหมี่ที่ได้จากการผสมกับน้ำซุปกระดูกไก่ (鶏ガラスープ), นึ่ง, ปรุงรสและขจัดความชื้นออกไปด้วยความร้อนในน้ำมันปาล์ม เพื่อสามารถเก็บไว้ได้นาน ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมที่จะกินในเวลาเพียงสองนาทีโดยการเติมน้ำร้อน เส้นก็จะคืนสภาพเดิมและกินได้ทันทีโดยไม่ต้องปรุงอะไรเพิ่มเติมได้รับการขนานนามว่า “ราเม็งเวทมนตร์” และกลายเป็นที่นิยมโดยทันทีและยังคงความอร่อยมาจนถึงทุกวันนี้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีผงปรุงรสในแพ็คเกจแยกต่างหากได้รับการเปิดตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านคุณภาพและรสชาติที่ดีขึ้น นายอันโดจึงก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปแห่งประเทศญี่ปุ่น (社団法人日本即席食品工業協会) ขึ้นในปี 2507 กิจการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้รับการตอบรับดีมาก เมื่อมีผู้เข้าร่วมสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างมากบวกกับการแข่งขันที่รุนแรงเกินไปในตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว สมาคมฯ จึงพยายามรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยใช้มาตรฐานเกษตรญี่ปุ่น (JAS) และเริ่มแสดงวันที่ผลิตเพื่อให้เป็นมิตรต่อผู้บริโภคมากขึ้น ตลอดจนมีการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยเป็นวิธีการผลิตบะหมี่แบบที่ไม่ต้องทอดในน้ำมัน โดยใช้วิธีการอบแห้งด้วยลมร้อนแทน จนกระทั่งปี 2514 นายอันโดโมโมฟุกุในวัย 61 ปี ขยายกลุ่มผู้บริโภคไปยังต่างประเทศโดยพุ่งเป้าไปยังเอเชียเป็นอันดับแรกและต่อด้วยอเมริกาและยุโรป เนื่องจากเขาสังเกตเห็นว่าชาวอเมริกันมักจะหักบะหมี่ออกเป็นสองท่อนแล้วใส่ในถ้วย ก่อนจะเติมน้ำร้อนตามไป และใช้ส้อมแทนตะเกียบ …
ปัจจุบันชาเขียวแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ ประกอบไปด้วย 1.เกียวคุโระ (玉露) 2.เซนฉะ (煎茶)3 เก็นไมฉะ (玄米茶) 4.มัทฉะ (抹茶) 5.โฮจิฉะ (ほうじ茶) โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง ”มัทฉะ (抹茶)” ว่าจริงๆ แล้วคืออะไร มัทฉะ (抹茶) เป็นชาที่มีคุณภาพสูงและราคาแพง โดยผลิตออกมาในรูปแบบของผงชาบดละเอียด วิธีการทำคือใช้ใบชาเกียวคุโระ (玉露) ที่ไม่ผ่านการนวด นำมาโม่ด้วยครกหินจนละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดความร้อน เหมาะใช้ในการทำอาหารและพิธีชงชา พิธีชงชาแบบดั้งเดิมหรือซะโด (茶道・Sadou) พิธีชงชาหรือซะโด (茶道) นั้นเป็นวัฒนธรรม “การดื่มชา (お茶を点てる・Ocha o tateru)” ที่สืบทอดกันมาแต่ยุคสมัยคามาคูระ (鎌倉時代) ของญี่ปุ่น โดย “ชา” ที่ใช้ในพิธีชงชาจะหมายถึง “มัทฉะ (抹茶)” เท่านั้น ในพิธีชงชาเราสามารถเรียนรู้ตั้งแต่ทักษะ วิธีการ และขั้นตอนการชงชา ด้วยอุปกรณ์ที่สวยงามปราณีตแฝงความเรียบง่ายของธรรมชาติภายในห้องเสื่อทาทามิสไตล์ญี่ปุ่น ที่ยังเป็นการฝึกสมาธิไปในตัวรวมไปจนถึงสัมผัสจิตวิญญาณของการต้อนรับตามแนวความคิดเซน (Zen) ได้อีกด้วย …
หลายๆ คนคงรู้จักราเม็งกันเป็นอย่างดีในฐานะที่เป็นอาหารประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น แต่ทราบหรือไม่ว่าราเมงมีมากมายหลายประเภท และมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง มาติดตามไปพร้อมๆ กับพวกเรากันได้เลยคร้าบ ประวัติความเป็นมาของราเม็ง ราเม็งมีจุดเริ่มต้นในยุคที่วัฒนธรรมจีนหลั่งไหลเข้ามาในญี่ปุ่นประมาณศตวรรษที่ 19 ช่วงการปฏิรูปสมัยเมจิ และถูกนำเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นราวปี ค.ศ. 1859 คำว่า “ราเม็ง” เดิมมาจากคำภาษาจีนว่า “ลาเมี่ยน” (拉麺) หมายถึง เส้นบะหมี่ที่ใช้มือนวดให้มีความเหนียวนุ่ม ถึงแม้ว่าราเม็งจะเกิดขึ้นในประเทศจีน แต่เมื่อถูกนำมาปรุงแต่งใหม่ด้วยเครื่องปรุงรสของญี่ปุ่นอย่างโชยุและเต้าเจี้ยวญี่ปุ่นแล้ว ทำให้รสชาติราเม็งโดยเฉพาะน้ำซุปที่มีความเป็นเอกลักษณ์จนกลายเป็นที่รู้จักในฐานะอาหารประจำชาติญี่ปุ่น หลังจากที่ญี่ปุ่นเปิดการค้าเสรีอย่างเป็นทางการในยุคเมจิสมัยโชกุนโทคุงาวะ (徳川幕府) ก่อให้เกิดการสร้างเมืองไชน่าทาวน์ (中華街) ขึ้นมาหลายแห่ง อย่างเช่น โยโกฮามา (横浜), ฮาโกดาเตะ (函館), และโกเบ (神戸) ซึ่งมาพร้อมกับอาหารประเภทเส้นของจีน เพื่อนๆ ลองนึกย้อนกลับไปในสมัยนั้น เมื่อเราพูดถึงอาหารประเภทเส้นของญี่ปุ่น เราจะนึกถึงแต่เส้นโซบะ (そば) คือเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ผลิตจากแป้งที่มีส่วนผสมของพืชที่มีชื่อว่า บัควีต (Buckwheat) แล้วในระยะแรกๆ คนญี่ปุ่นจะเรียกบะหมี่ของจีนกันว่า “ชินะโซบะ (支那そば)” ซึ่งแปลว่า “โซบะ (คน) เจ๊ก” (ชินะ เป็น คำเก่าที่คนญี่ปุ่นใช้เป็นคำเรียกเชิงดูหมิ่นชนชาติจีนในสมัยก่อน) …
ทาทามิ ทอจากหญ้าชนิดหนึ่งที่เรียกว่า อิกุสะ (藺草・Igusa) มีลักษณะคล้ายกับต้นกกในบ้านเรา ซึ่งพืชชนิดนี้มีคุณสมบัติอันสุดแสนจะพิเศษในการดูดซับและระบายความชื้นได้ดี
เพื่อการมีชีวิตอยู่รอดนั้น ได้หล่อหลอมให้มุซะชิทุ่มเทเวลาและพลังกายพลังใจฝึกฝนตนเองอย่างไม่หยุดหย่อนที่จะค้นหาความสามารถในการที่จะรบชนะต่อคู่ต่อสู้
วัฒนธรรมการทักทายนั้นเป็นขั้นตอนแรกๆของการสื่อสารถ้าเราสามารถทักทายได้อย่างถูกต้องแล้ว มันจะเป็นก้าวแรกในการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีได้อย่างน่าประทับใจ
มีมนุษย์อาศัยอยู่บนหมู่เกาะญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า (旧石器時代) เมื่อประมาณ 15,000 ปีก่อนคริสตศักราชที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย
ローイ・クラトン祭りの日に、人々はバナナの葉などの自然による材料から焦点で「クラトン」を作ります。蓮の花のように装飾され、花、線香、ろうそくなどを添え、水に流し、祈りを捧げます。
これらの鯨は、毎年10月から12月にかけて、ペチャブリー県、サムットソンクラーム県、サムットサコーン県、チャチェンサオ県のエリアにあるタイ湾岸の餌を食べる為に来ます。