ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ที่ทุกคนไม่เคยรู้

มีมนุษย์อาศัยอยู่บนหมู่เกาะญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า (旧石器時代) เมื่อประมาณ 15,000 ปีก่อนคริสตศักราชที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย

การกล่าวถึงชนชาติญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ปรากฏให้เห็นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยฮั่น (บันทึกประวัติศาสตร์ฮั่น) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา  ตามบันทึกสามก๊ก ได้กล่าวไว้ว่าราชอาณาจักรทรงอำนาจที่สุดในหมู่เกาะญี่ปุ่นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2-3 (ช่วงปี ค.ศ. 280-297) คือ “ยะมะไตโคะคุ (邪馬台国)” ซึ่งเป็นพื้นที่แถบคิวชู (九州) และคินะอุจิ (畿内) ในปัจจุบัน ปกครองโดยราชินีฮิมิโกะ (倭女王卑弥呼) ในช่วงนี้เริ่มมีการเผยแผ่ศาสนาพุทธเข้าประเทศญี่ปุ่นจากอาณาจักรแพ็กเจ (คือเกาหลีในปัจจุบัน)

ดินแดนยะมะไตโคะคุ
ยะมะไตโคะคุ (邪馬台国) ซึ่งเป็นพื้นที่แถบคิวชู (九州) และคินะอุจิ (畿内) ในปัจจุบัน ปกครองโดยราชินีฮิมิโกะ (倭女王卑弥呼)

ต่อมาในช่วงต้นยุคอะซุกะ (飛鳥時代) ระหว่างปี ค.ศ. 592–710ภายใต้การปกครองของเจ้าชายโชโตะกุ (聖徳太子) เป็นยุคที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนแผ่นดินใหญ่ในหลายด้าน เช่น ด้านภาษา ศาสนา การปกครองและวัฒนธรรมมีการทำนุบำรุงและพัฒนาศาสนาพุทธภายใต้อิทธิพลแนวคิดจากจีนแผ่นดินใหญ่เป็นหลักสำคัญ อีกทั้งได้รับการส่งเสริมจากชนชั้นปกครอง ให้แผ่ขยายกว้างออกไปในญี่ปุ่นโดยนำมาปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีภาษาและวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนถึงปัจจุบัน  นอกจากนี้ ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีทางตะวันตกเข้ามาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่มีความ ก้าวหน้าและทรงอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก  และหลังจากที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองโดยนำเอารัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ใน ค.ศ. 1947 จนถึงปัจจุบัน

สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น  (先史時代)

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับยุคก่อน ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เริ่มต้นด้วยนาย Edward S. Morse ไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1877 (ตรงกับสมัยเมจิปีที่ 10) ได้ค้นพบเปลือกหอยโอโมริ (大森貝塚) ในปี ค.ศ. 1879 (ตรงกับสมัยเมจิปีที่ 12) และทำการศึกษาวิจัยเปลือกหอยโอโมริที่พบตลอดแนวของฮอกไกโดไปจนถึงคิวชู รวมทั้งงานขุดค้นและค้นหาหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนหมู่เกาะญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า (旧石器時代) เมื่อประมาณ 15,000 ปีก่อนคริสตศักราชที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย  ซึ่งก็หมายความว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นเริ่มต้นจากยุคหินเก่า (旧石器時代) และสิ้นสุดของยุคก่อนประวัติศาสตร์ในยุคสมัยโคะฟุง (古墳時代)

เปลือกหอยโอโมริ
เปลือกหอยโอโมริ
  •  ยุคหินเก่า (旧石器時代) เมื่อประมาณ 15,000 ปีก่อนคริสตศักราช มนุษย์โบราณที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่นในยุคนี้ หาเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเก็บของป่า
  • ยุคหินใหม่ (新石器時代) อยู่ในช่วงประมาณ 15,000 – 12,000 ปีก่อนคริสตศักราช ยุคนี้มีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินด้วยความประณีต มีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาสำหรับใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร
  • ยุคสมัยโจมง (縄文時代) อยู่ในช่วงประมาณ 12,000 ปี – 400 ปีก่อนคริสตศักราช  ยุคนี้มีวัฒนธรรมนักล่าสัตว์ หาของป่า เริ่มอยู่เป็นที่มากขึ้นโดยสังเกตจากลักษณะการอาศัยอยู่ในหลุมและทำเกษตรกรรมแบบเรียบง่าย  อีกทั้งยังมีหลักฐานแสดงถึงความร่วมสมัยของบรรพบุรุษชาวไอนุและชาวยะมะโตะ ที่มีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาตามรูปแบบเอกลักษณ์ของโจมงที่ใช้เชือกทำเป็นลวดลายตกแต่ง นับเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของมนุษยชาติที่ยังคงเหลืออยู่มาจนถึงในโลกปัจจุบัน
เครื่องปั้นดินเผาโจมง
เครื่องปั้นดินเผายุคโจมง
  • ยุคสมัยยาโยอิ (弥生時代) อยู่ในช่วงประมาณ 400 ปีก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 300 ชาวญี่ปุ่นเริ่มเรียนรู้การทำเกษตรโดยเริ่มจากการปลูกข้าวเป็นอันดับแรกที่เรียกว่า “การทำนาข้าวเปียก” เรียนรู้การเลี้ยงปศุสัตว์เรียนรู้วิธีการทำเครื่องใช้โลหะที่เรียกว่า “โลหะวิทยา” และเรียนรู้การผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาแบบใหม่ที่ใช้แกนหมุนในการขึ้นรูปจากแผ่นดินทวีปเอเชียคือจีนและเกาหลีในปัจจุบัน มีการนำเอาเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กมาใช้ในการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และใช้ดาบที่ทำด้วยทองแดงและกระจกเพื่อการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา นอกจากนี้แล้ว ยังรับเอาแนวคิดในการจัดแบ่งลักษณะหน้าที่งานต่างๆ เพื่อการปกครอง ทำให้ช่องว่างระหว่างผู้ปกครองดินแดนและผู้อยู่ใต้การปกครองขยายกว้างขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงนี้ ส่งผลให้รัฐเล็กๆ ได้ถูกก่อตัวขึ้นกระจายทั่วทั้งประเทศเป็นจำนวนมาก
วิถ๊ชีวิตยุคสมัยยาโยอิ
วิถ๊ชีวิตยุคสมัยยาโยอิ
เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก
เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก 
แบบจำลองลักษณะที่อยู่อาศัยยุคสมัยยาโยอิ
แบบจำลองลักษณะที่อยู่อาศัยยุคสมัยยาโยอิ

ยุคสมัยโคะฟุง (古墳時代) อยู่ในช่วงประมาณกลางศตวรรษที่ 3 – ปลายศตวรรษที่ 7 เป็นยุคที่สร้างสุสานโบราณโดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปที่เรียกว่า “รูกุญแจ (Keyhole)” อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งถูกค้นพบแถวทางตอนใต้ของภูมิภาคคิวชู  จากหลักฐานทางโบราณคดีจะเห็นความผสมผสานทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสืบต่อจากยุคสมัยโจมงเรื่อยมาถึงยุคสมัยยาโยอิ  ในช่วงศตวรรษที่ 7 เมื่อทัณฑสถานที่ไม่มีรูกุญแจจะไม่มีการสร้างหลุมฝังศพ แต่หลุมฝังศพสุสานทรงกลมและหลุมฝังศพรูปแปดเหลี่ยมยังคงสร้างขึ้นอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลานี้ถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของยุคสมัยโคะฟุง

สุสานโบราณยุคสมัยโคะฟุง
แล้วพบกันใหม่
ติดตามตอนต่อไป

ขอบคุณรูปภาพจาก :  www.yahoo.co.jp, https://ja.wikipedia.org