สุนัขญี่ปุ่นพันธุ์แท้หกสายพันธุ์

สุนัขญี่ปุ่น ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นสุนัขญี่ปุ่นพันธุ์แท้ เพราะเป็นสุนัขพื้นเมืองที่เติบโตในญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัย...

สุนัขญี่ปุ่น (日本犬) ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นสุนัขญี่ปุ่นพันธุ์แท้ เพราะเป็นสุนัขพื้นเมืองที่เติบโตในญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งมีอยู่หกสายพันธุ์ ได้แก่ อาคิตะอินุ (秋田犬), ไคเค็นอินุ (甲斐犬), คิชูอินุ (紀州犬), ชิบะอินุ (柴犬), ชิโกกุอินุ (四国犬) และ ฮอกไกโดอินุ (北海道犬)  โดยสุนัขหกสายพันธุ์แท้ญี่ปุ่นเหล่านี้ได้รับเกียรติกำหนดวันให้เป็นตัวแทนแห่งอนุสรณ์สถานธรรมชาติ (天然記念物) และตั้งแต่นั้นมาทั้งหกสายพันธุ์ก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น 

สายพันธุ์ ประเภท วันที่กำหนดให้เป็นอนุสรณ์สถานธรรมชาติ
อาคิตะอินุ(秋田犬) ขนาดใหญ่ 31 กรกฎาคม 1931 (โชวะปีที่ 6)
ไคเค็นอินุ (甲斐犬) ขนาดกลาง 22 มกราคม 1934 (โชวะปีที่ 9)
คิชูอินุ (紀州犬) ขนาดกลาง 1 พฤษภาคม 1934 (โชวะปีที่ 9)
ชิบะอินุ (柴犬) ขนาดเล็ก 16 ธันวาคม 1936 (โชวะปีที่ 11)
ชิโกกุอินุ (四国犬) ขนาดกลาง 15 มิถุนายน 1937 (โชวะปีที่ 12)
ฮอกไกโดอินุ (北海道犬) ขนาดกลาง 21 ธันวาคม 1937 (โชวะปีที่ 12)

สุนัขญี่ปุ่น (日本犬) จะหมายถึงเฉพาะสายพันธุ์สุนัขพื้นเมืองหกชื่อดังตารางข้างต้นตามมาตรฐานสุนัขญี่ปุ่นที่จัดตั้งขึ้นโดยสมาคมอนุรักษ์สุนัขญี่ปุ่น (日本犬保存会) ในปี 1934 โดยสุนัขหกสายพันธุ์แบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่ ใหญ่ กลาง เล็ก  ตั้งแต่ปี 1931 (โชวะปีที่ 6) ถึงปี 1937 (โชวะปีที่ 12) สุนัขสายพันธุ์แต่ละตัวถูกกำหนดให้เป็นอนุสรณ์สถานธรรมชาติโดยกระทรวงศึกษาธิการ แต่ภายหลังสงครามแปซิฟิก (太平洋戦争) ภาครัฐได้มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการศึกษาประจำจังหวัดในการจัดการดูแลพวกเขา

ตั้งแต่ยุคเมจิไปจนถึงยุคต้นโชวะเมื่อจำนวนสุนัขในญี่ปุ่นเริ่มแออัดมากขึ้น เนื่องจากการนำเข้ามาของสุนัขตะวันตกและพัฒนาการด้านการขนส่ง ทำให้สุนัขญี่ปุ่นพันธุ์พื้นเมืองถูกคุกคามด้วยการค่อยๆ ลดจำนวนลงเกือบสูญพันธุ์ตั้งแต่สมัยยุคเมจิ (明治)  เพราะสุนัขนำเข้าถูกนำมาใช้เพื่อการผสมพันธุ์กับสุนัขญี่ปุ่นทั่วประเทศภายใต้กระแสสากลนิยม ในช่วงท้ายของยุคไทโช (大正) สุนัขญี่ปุ่นพันธุ์พื้นเมืองบริสุทธิ์เกือบสูญพันธุ์ไป 

ในเวลานั้นเองนายฮิโระชิจิ ไซโตะ (斎藤弘吉) นักวิจัยสุนัขชาวญี่ปุ่นและนักวิจัยโบราณวัตถุญี่ปุ่น ผู้รู้สึกถึงอันตรายในสถานการณ์นี้จึงเรียกร้องต่อสมาคมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ภายใต้กระทรวงมหาดไทยให้ฟื้นฟูสุนัขญี่ปุ่นและก่อตั้งสมาคมอนุรักษ์สุนัขญี่ปุ่น (日本犬保存会) ในเดือนมิถุนายนปี 1928 รวมทั้งพัฒนากระบวนการอนุรักษ์ด้วยการกำหนดให้เป็นอนุสรณ์สถานธรรมชาติ (天然記念物) ตั้งแต่ปี 1931 (โชวะปีที่ 6) ถึงปี 1937 (โชวะปีที่ 12)

นายฮิโระชิจิ ไซโตะ (斎藤弘吉)

สงครามแปซิฟิกตอนปลายเมื่อสุนัขต้องถูกฆ่าเพื่อเอาเนื้อมากินและเอาขนมาทำเสื้อผ้าเนื่องจากขาดเสบียง และนี่เป็นครั้งที่สองที่สุนัขญี่ปุ่นต้องทนทุกข์ทรมาน แต่ด้วยความรักและความพยายามของอาสาสมัคร  เลือดของสุนัขญี่ปุ่นสายพันธุ์พื้นเมืองบริสุทธิ์จึงได้รับการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจวบจนทุกวันนี้

ขอบคุณภาพจาก : https://www.min-petlife.com , https://japaneseclass.jp