เคล็ด (ไม่) ลับเกี่ยวกับการสนทนาภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน

ところ (所・Tokoro) ในการพูดคุยเป็นคำที่ใช้ได้หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นความหมายพื้นฐาน หรือความหมายที่เป็นสำนวน ใน EP.นี้...

ด้วยความตั้งใจและมุ่งหวังที่จะเป็นสื่อกลางในการเชื่อมช่องว่างการสนทนาระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างราบรื่นขึ้นและมีความเข้าใจอันดีต่อกันยิ่งขึ้น เราจึงพยายามคัดสรรคำภาษาญี่ปุ่นที่มีประโยชน์และใช้กันบ่อยในการสนทนาในชีวิตประจำวันมาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน ได้เรียนรู้ แล้วลองนำไปใช้จริง……ผลเป็นอย่างไรบ้าง ช่วยคอมเม้นท์ให้ฟังกันด้วยนะคร้าที่ Facebook Page เพราะทุกคอมเม้นท์จะเป็น “แรงผลักดัน” และ “กำลังใจ” ให้เรายังคงคิดและผลิตผลงานที่ดีขึ้น และก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ออกมาให้กับเพื่อนๆ ต่อไปค่ะ

EP.1 การใช้  ところ (所・Tokoro)

ところ (所・Tokoro) ในความหมายว่า “สถานที่” หรือ “ในละแวก”
ところ (所・Tokoro) ในการพูดคุยเป็นคำที่ใช้ได้หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นความหมายพื้นฐาน หรือความหมายที่เป็นสำนวน ใน EP.นี้ จะอธิบายกรณีความหมายพื้นฐานที่แปลว่า “สถานที่” จะใช้อย่างไรได้บ้าง

ところ (所・Tokoro)  ใช้เมื่อกล่าวถึงสถานที่จริงๆ
ลองดูประโยคตัวอย่างต่อไปนี้

  • A: 先月片山というへ行って来ました。
    Sengetsu Katayama to yuu tokoro e itte kimashita.
    เมื่อเดือนที่แล้วไปสถานที่ที่เรียกว่า”คะตะยะมะ”มาด้วยแหละ
    B: 片山?どんなですか?
    Katayama?  Donna tokoro desu ka?
    คะตะยะมะเหรอ? เป็นสถานที่อย่างไงอ่ะ?
  • バスに乗るはどこですか?
    Basu ni noru tokoro wa doko desu ka?
    สถานที่ที่ขึ้นรถเมล์อยู่ตรงไหน

นอกจากนี้  ところ (所・Tokoro) ยังหมายถึง “ที่อาศัย, ที่พำนักอยู่”  ดังตัวอย่างเช่น

  • 恐れ入りますが、こちらにおとお名前をお書き下さい。
    Osoreirimasuga, kochira ni o-tokoro to o-namae o o-kaki kudasai.
    ขอโทษนะคะ กรุณาช่วยเขียนชื่อที่อยู่ตรงนี้ด้วยค่ะ

เมื่อคำว่า ところ (所・Tokoro)  ใช้กับชื่อของคนหรือคำสรรพนาม  จะใช้กล่าวอ้างถึงสถานที่ที่คนคนนั้นอาศัยอยู่ หรือไม่ก็เกี่ยวกับคนคนนั้น  ดังตัวอย่างเช่น

  • 人手が足りなくて、困っています。
    Hitode ga tarinakute, komatte imasu.
    เรากำลังลำบากเพราะมีคนไม่พอ
  • 私の所もそうです。困ったもんですね。
    Watashi no tokoro mo sou desu. Komatta mon desu ne.
    ที่ของฉันก็เหมือนกัน แย่จังเลยนะค่ะ

** สำหรับตัวอย่างที่ 4   私の所(watashi no tokoro)  จะมีความหมายว่า “บริษัทของฉัน”

A: 田中君いないかね。
Tanaka kun inai kane.
คุณทานากะ ไม่อยู่เหรอครับ

B: ちょっと外へ出ているわよ。
Chotto soto e dete imasu.
ออกไปข้างนอกจ้า

A: じゃ、戻って来たら私の所へ来るように言ってくれてね。
Ja, modotte kitara watashi no tokoro e kuru yoo ni itte kure.
งั้น ถ้ากลับมาแล้ว ช่วยบอกให้มาหาผมหน่อยนะครับ

** สำหรับตัวอย่างที่ 5   私の所(watashi no tokoro)  จะมีความหมายว่า “ผม/ฉัน”

A: 僕にはそれだけしか言えないよ。
Boku ni wa sore dake shika ienai yo.
สำหรับผม คงพูดได้เพียงแค่นั้นนะครับ

B: そうか。じゃ、しかたない。社長の所へ行って来る
Sooka. Ja, shikata nai. Shachoo no tokoroe itte kuru.
งั้นเหรอ ไม่เป็นไร เดี๋ยวผมจะไปหาประธานเอง

** สำหรับตัวอย่างที่ 6   โดยทั่วไปในภาษาญี่ปุ่นจะฟังเป็นธรรมชาติเมื่อผู้พูดใช้สำนวนว่า …..の所へ行く/来る(no tokoro e iku/kuru) 

** สำหรับตัวอย่างที่ 7 & 8   ……の所 (no tokoro)  มักจะใช้เสริมกับคำที่มีความหมายถึง “จุดหรือสถานที่หรือพื้นที่เล็กๆ เช่น หน้าต่าง ประตู ทางเข้า เป็นต้น”

  • 門の所に変な人が立っていたわよ。
    Mon no tokoro ni henna hito ga tatte ita wa yo.
    ตรงแถวประตูมีคนแปลกหน้ายืนอยู่นะ

A: ここは暑いからどこかもう少し涼しい所に行って下さいませんか。
Koko wa atsui kara dokoka moo sukoshi suzushii tokoro ni itte kudasaimasen ka.
ตรงนี้มันร้อน เธอไปอยู่ตรงไหนที่เย็นกว่านี้ไหม

B: そうですね。じゃ、あの窓の所で待っています。
Soo desu ne. Ja, ano mado no tokoro de matte imasu
อืม จริงด้วยสิ  งั้นฉันจะไปรออยู่แถวหน้าต่างโน้นแล้วกัน

** ผู้พูดอาจจะพูดโดยใช้สำนวนว่า 門の前 (mon no mae) ที่แปลว่า หน้าประตู หรือ 窓のそば (mado no soba) ที่แปลว่า ข้างๆ หน้าต่างก็ได้  เพียงแต่…..の所(no tokoro)  มักจะนิยมใช้พูดคุยในบทสนทนามากกว่า

แล้วไว้เจอกันใน EP.2 นะจ้าา …..วันนี้ขอบ๊ายบายไปก่อน

ขอบคุณภาพจาก : https://arisago.com , http://www.pixivision.net , www.pinterest.com , http://blogs.yahoo.co.jp , http://twitter.com